วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจต่างประเทศแบบมอดิไฟต์บล็อค

                               ส่วนของหัวจดหมาย

************************************************************
                                                   1 - 2  ปัด
                                                                                       
                                                                       วันที่ ......................................

                               2 - 4  ปัด

ชื่อ ที่อยู่ผู้รับ ....................................
......................................................
......................................................
......................................................

                             1  บิด  2
คำขึ้นต้น .........................................

                             1  บิด  2
ข้อความ ............................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.........................................................................................................

                             1  บิด  2
ข้อความ ...........................................................................................................................
...........................................................................................................................

                                                                                                 1  บิด  2
                                                                        คำลงท้าย ..............................

                                                                                                 2  บิด  2

                                                                         ชื่อ - สกุล ผู้ลงนาม ..............
                                                                         ตำแหน่ง ...............................

                          1  บิด  2
ชื่อย่ออ้างอิง .......................................
                          1  หรือ  1  บิด  2
สิ่งที่ส่งมาด้วย ....................................

การพิมพ์จดหมายธุรกิจต่างประเทศแบบบล็อค หรือมอดิไฟต์บล็อค

          วิธีการพิมพ์จดหมายธุรกิจต่างประเทศแบบบล็อค หรือแบบมอดิไฟต์บล็อค  ระยะปัดแคร่ของแต่ละส่วนของตัวจดหมายเหมือนกับแบบฟลูบล็อค และทุกส่วนก็พิมพ์เหมือนกันกับแบบฟลูบล็อค
ยกเว้น
          1.  วันที่  มาอยู่กึ่งกลางของกระดาษ
          2.  คำลงท้าย  ชื่อบริษัท (ถ้ามี)  ตำแหน่ง  พิมพ์ตรงกับกึ่งกลางของกระดาษ โดยไม่ต้องวางศูนย์

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจแบบต่างประเทศ แบบฟลูบล็อค

                                ส่วนของหัวจดหมาย

************************************************************
        1 - 2  ปัด

วันที่ ............................................

            2 - 4  ปัด

ชื่อ ที่อยู่ผู้รับ ..............................
................................................
................................................
................................................

            1  บิด  2
คำขึ้นต้น ...................................

           1  บิด  2
ข้อความ ............................................................................................................................
....................................................................................................................................
.............................................................................

           1  บิด  2
ข้อความ ...........................................................................................................................
.........................................................................................

           1  บิด  2
คำลงท้าย ..................................

           2  บิด  2

ชื่อ - สกุล ผู้ลงนาม ..................
ตำแหน่ง ...................................

           1  บิด  2
ชื่อย่ออ้างอิง ...........................
           1  หรือ  1  บิด  2
สิ่งที่ส่งมาด้วย ........................

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานหนังสือราชการภายนอก

ข้อที่ 1   
        จงพิมพ์หนังสือราชการภายนอก ที่ นร 0201/ว 136  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล กทม. 10300  ลงวันที่ปัจจุบัน / เรื่อง กำหนดวันเนื่องในพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันสำคัญของชาติ / เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ / (ย) 
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดให้วันที่  31 มีนาคม  ของทุกปีเป็น
วันที่สำคัญของชาติ เนื่องในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกวันหนึ่ง โดยประกาศ
ให้ข้าราชการและประชาชนประกอบพิธีถวายราชสักการะ โดยมิต้องหยุดราชการ จึงขอให้
นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป  (ย)  คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา
เมื่อวันที่  1  กันยายน 2535 ลงมติเห็นชอบให้กำหนดวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่
สำคัญของชาติ เนื่องในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และขานนามวันนี้ว่า "วันที่
ระลึกมหาเจษฎาบดินทร์พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"  และให้ประกาศให้ข้าราชการและประชาชน
ประกอบพิธีถวายราชสักการะ โดยมิต้องถือเป็นวันหยุดราชการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
(ย) จึงเรียนยืนยันมา / ขอแสดงความนับถือ / นายเอกโสภณ สุวรรณรุจิ / เลขาธิการคณะรัฐมนตรี /
กองกลาง / โทร. 02-281-2240 / โทรสาร 02-282-6355


ข้อที่  2   
         จงพิมพ์หนังสือราชการภายนอก ที่ ศธ 1503/  สำนักงาน ก.ค. กระทรวงศึกษาธิการ
กทม.10300 / ลงวันที่ปัจจุบัน / เรื่อง แนวปฏิบัติในการจัดทำผลงานทางวิชาการ / เรียน อธิบดี
กรมอาชีวศึกษา / (ย)  ด้วย ก.ค. ได้พิจารณาผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูตำแหน่งต่าง ๆ
ที่ ก.ค. กำหนดให้เสนอผลงานทางวิชาการเพื่อประกอบการพิจารณา การขอปรับปรุงการกำหนด
ตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการครูให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งรับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น หรือการขอ
ให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นในฐานะผู้ชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งอาจารย์ 3 หรือ อาจารย์ 2
รับเงินเดือนในระดับ 7 นั้นปรากฎว่าได้พบข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ศัพท์บัญญัติในการเอกสาร
ผลงานทางวิชาการ ในแต่ละสาขาวิชานั้น ๆ เป็นจำนวนมากที่ไม่เป็นสากลและไม่ถูกต้องตาม
ที่ได้มีการบัญญัติไว้ และเป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ / (ย) ดังนี้น เพื่อเป็นการ
กำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานในแนวเดียวกันในการใช้ศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาต่าง ๆ
สำหรับการจัดทำผลงาสนวิชาการของข้าราชการครู ก.ค. จึงมีมติให้ยึดรูปแบบของการใช้ศัพท์
บัญญัติในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามที่ราชบัญฑิตยสถานได้บัญญัติไว้ รวมทั้งรูปแบบการใช้ศัพท์ที่
เป็นสากลและเป็นที่ยอมรับกันในวงวิชาการหรือวงวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย / (ย) จึงเรียนมาเพื่อโปรด
ทราบและแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อถือปฏิบัติต่อไป / ขอแสดงความนับถือ /นายสมุทร วรรณพงษ์/
รองเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทน / เลขาธิการ ก.ค. / กองมาตรฐานตำแหน่งที่ 1  /
โทร. 02-280-1094

ตัวอย่างหนังสือราชการภายนอก

ใบความรู้หนังสือราชการภายนอก

หนังสือราชการภายนอก  คือ   หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้ตราครุฑ  เป็นหนังสือติดต่อ
ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก 
มีส่วนประกอบ ดังนี้
     1.  ที่  อักษรย่อของกระทรวง รหัสเลขประจำของเจ้าของเรื่อง 4 ตัว ทับด้วยฉบับที่ออกหนังสือ
     2.  ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ  สถานที่ราชการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น
     3.  วัน เดือน ปี พ.ศ.  ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
     4.  เรื่อง  ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น
     5.  คำขึ้นต้น  ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับรับหนังสือ
     6.  อ้างถึง  (ถ้ามี)  ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว
     7.  สิ่งที่ส่งมาด้วย  (ถ้ามี)  ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสารที่ส่งมาพร้อมกับหนังสือนั้น
     8.  ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย
     9.  คำลงท้าย  ให้ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือ
   10.  ลงชื่อ  ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
   11.  ตำแหน่ง  ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ
   12.  ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ
   13.  โทร.  ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ

คำแนะนำประกอบการพิมพ์สำหรับหนังสือราชการภายนอก
      1.  พิมพ์  "ที่"  และ "ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ"  ให้ตรงกับแนวเท้าครุฑ
      2.  พิมพ์ วันที่ เดือน  ปี  ให้ตรงกับหางครุฑ
      3.  พิมพ์คำลงท้าย  โดยให้ตัวอักษรตัวแรกอยู่ตรงกับ วันที่
      4.  การพิมพ์ชื่อเต็มในวงเล็บ  และตำแหน่ง ให้ถือคำลงท้ายเป็นหลัก โดยให้อยู่กึ่งกลางซึ่งกันและกันในกรณีที่ต้องพิมพ์ตำแหน่ง  2  บรรทัดระหว่างบรรทัดให้ปัด 1
     


วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบความรู้จดหมายธุรกิจไทยแบบต่างประเทศ

      จดหมายธุรกิจไทยแบบต่างประเทศ ที่นิยมใช้นำรูปแบบของจดหมายภาษาอังกฤษ มี 3  แบบ คือ
                     1.  แบบฟลูบล็อค
                     2.  แบบแบบบล็อค หรือบางแห่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบมอดิไฟต์บล็อค
                     3.  แบบเซมิบล็อค
      ลักษณะที่เด่นชัดของรูปแบบจดหมายธุรกิจแบบฟลูบล็อค คือทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นวันที่ ชื่อ ที่อยู่ผู้รับ
คำขึ้นต้น  ข้อความ  คำลงท้าย  ชื่อผู้ลงนาม  ตำแหน่ง  ชื่ออ้างอิง  สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)  จะพิมพ์ชิดกั้น
ระยะซ้ายตลอด  ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้
      1.  การพิมพ์วันที่ พิมพ์เฉพาะเลขที่วันที่ ชื่อเดือน และเลข พ.ศ. เช่นเดียวกับหนังสือราชการภายนอก
โดยปัดจากหัวกระดาษจดหมายลงมา ปัด 1 - 2
      2.  ชื่อ ที่อยู่ผู้รับ  ปัดจากวันที่  2 - 4  ปัด  ชื่อและที่อยู่ผู้รับไม่ควรเกิน 4 บรรทัด ทั้งนี้บรรทัดแรกเป็น
ชื่อผู้รับ หรือตำแหน่ง  บรรทัดต่อไปจะเป็นที่อยู่
      3.  คำขึ้นต้น  ปัดจากที่อยู่รับบรรทัดสุดท้าย  ปัด 1 บิด 2 หลังคำขึ้นต้นเว้น  2 เคาะ
      4.  ข้อความจดหมาย ปัดจากคำขึ้นต้น ปัด 1 บิด  2 แล้วจึงเริ่มพิมพ์ข้อความ
      5.  คำลงท้าย พิมพ์ใต้ข้อความบรรทัดสุดท้าย  ปัด 1 บิด 2
      6.  ชื่อบริษัท (ถ้ามี)  พิมพ์ใต้คำลงท้ายโดยปัด 1
      7.  ชื่อผู้ลงนามในจดหมาย ปัดจากคำลงท้าย หรือชื่อบริษัท ปัด 2 บิด  2
      8.  ตำแหน่งพิมพ์ต่อจากชื่อผู้ลงนามในจดหมาย โดยปัดลงมา  1 ปัด
      9.  ชื่อย่ออ้างอิง  ปัดจากตำแหน่ง ปัด 1 บิด 2 (ใช้อักษรนำชื่อ - สกุล ตัวแรก)
           (ข้อสังเกตการพิมพ์จดหมายธุรกิจไทยแบบต่างประเทศทั้ง 3 แบบ ชื่อผู้ลงนามในจดหมายจะ
             ไม่มีคำนำหน้านาม และวงเล็บ และไม่ต้องพิมพ์วางศูนย์)

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างจดหมายธุรกิจไทยแบบราชการ

                                 ตัวอย่างแบบฟอร์มจดหมายธุรกิจไทยแบบราชการ

                                              บริษัทสยามไทยกราฟฟิค   จำกัด
                            25/3  ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี  อ. เมือง  จ. นนทบุรี  11000
                                        โทร.  02-526-66221  แฟกซ์  02-526-6640
  
**************************************************************************************************************                                                                                                               
                          1  บิด  2
เลขที่ออกหนังสือ  .............................  (ถ้ามี)

                          1  บิด  2
                                                              วัน ........  เดือน ..............  ปี ............

                          1  บิด  2

เรื่อง   .................................................

                          1  บิด  2

เรียน   ................................................

                          1  บิด  2

(ย่อหน้า  5 - 10 เคาะ)  ข้อความ ......................................................................................
................................................................................................................................
..............................................................................
                          1  บิด  2

             ....................................................................................................................
..............................................................................................
                                                                                      1  บิด  2

                                                              คำลงท้าย ...................................


                                                                                       2  บิด  2
                                                          (ชื่อผู้ลงนาม .....................................)
                                                             ตำแหน่ง .....................................

                          1  บิด  2

ชื่อย่ออ้างอิง .....................................

                          
สิ่งที่ส่งมาด้วย  .................................  (ถ้ามี)


                                                                                                                                                                             

ใบความรู้จดหมายธุรกิจไทยแบบราชการ

                                                                 
จดหมายธุรกิจแบบราชการ หรือจดหมายธุรกิจไทยกึ่งราชการ  คือ จดหมายที่หน่วยธุรกิจจัดทำขึ้นสำหรับการติดต่อ ยึดรูปแบบของหนังสือราชการภายนอกเป็นหลัก กระดาษที่ใช้ คือกระดาษหัวจดหมาย ซึ่งหน่วยงานธุรกิจจะจัดทำกระดาษที่มีหัวจดหมายขึ้นใช้ในหน่วยงานของตนเอง  ประกอบด้วย  ชื่อกิจการ (บริษัท)  สถานที่ตั้ง  หมายเลขโทรศัพท์  หรือโทรสาร  ตรา (โลโก้)  ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจแบบราชการ ประกอบด้วย
     1.  หัวจดหมาย  หน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มักจะออกแบบหัวจดหมายเพื่อใช้ในกิจการของตน และให้เกิดความประทับใจแก่ผู้รับ
     2เลขที่ออกจดหมาย (ถ้ามี)  หน่วยธุรกิจบางแห่งได้จัดทำทะเบียนหนังสือออกไว้ มีการกำหนดเลขที่หนังสือออกไว้ มีอักษรย่อประกอบกับเลขลำดับที่ของหนังสือ และปีที่ออกหนังสือโดยมีเครื่องหมาย / คั่นอยู่ระหว่างเลขที่กับ ปี พ.ศ.  การพิมพ์เลขที่หนังสือออก  ให้พิมพ์ไว้ชิดกั้นระยะหน้า ถัดจากบรรทัดสุดท้ายของหัวจดหมายลงมา  2-3 ระยะบรรทัดเดี่ยว
     3.  วัน เดือน  ปี ที่ออกหนังสือ  การพิมพ์วัน เดือน ปี ให้พิมพ์เลขวันที่  ตามด้วยชื่อเดือนเต็ม และเลขปี พ.ศ. และให้เว้น 2 ระยะวรรค  ระหว่างวันที่กับเดือน และระหว่างเดือนกับปี พ.ศ. วางศูนย์กลางกระดาษ  เริ่มพิมพ์จากกึ่งกลางกระดาษ  (นิยมที่สุด)
     4.  ชื่อเรื่อง  ปัดจากวันที่  เดือน ปี  1 ปัด  2 บิด พิมพ์คำว่า  "เรื่อง"  ชิดกั้นระยะซ้าย หลังเรื่อง เว้น 2 วรรค  กรณีชื่อเรื่องยาวให้แบ่งขึ้นบรรทัดใหม่ โดยพิมพ์ให้ตรงกับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง
     5.  คำขึ้นต้น  ปัดจากเรื่อง  1  ปัด   2  บิด ใช้คำขึ้นต้นว่า  "เรียน" พิมพ์ชิดกั้นระยะซ้าย  หลังเรียน เว้น 2 วรรค แล้วพิมพ์ชื่อ - นามสกุลของผู้รับจดหมาย โดยใช้คำนำหน้าว่า "คุณ"  เช่น
เรียน  คุณสุธรรม  รักเรียน  (ระหว่างชื่อ -  สกุล เว้น  2  วรรค)  กรณีผู้รับจดหมายระบุเป็นตำแหน่ง  เช่น
เรียน  ผู้จัดการบริษัทสยามไทย  จำกัด
     6.  ข้อความจดหมาย  ปัดจากคำขึ้นต้น 1  ปัด   2 บิด โดยให้ย่อหน้า 5 - 10 ตัวอักษร  ในบรรทัดแรกของข้อความแต่ละตอน บรรทัดถัดไปพิมพ์ชิดกั้นหน้า และขึ้นย่อหน้าใหม่ให้ปัด 1 บิด 2
     7.  คำลงท้าย ปัดจากบรรทัดสุดท้ายของข้อความจดหมาย 1 ปัด 2 บิด และเริ่มพิมพ์จากกึ่งกลางกระดาษ  โดยใช้คำว่า "ขอแสดงความนับถือ"
     8.  ชื่อกิจการ  จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีให้พิมพ์วางศูนย์กับคำลงท้าย  สามารถพิมพ์ได้ 2 แห่ง  คือ
                              1.  พิมพ์ถัดจากคำลงท้าย ปัดลงมา 1 ปัด 2 บิด
                              2.  พิมพ์ถัดจากตำแหน่งผู้ลงนามในจดหมาย ปัดลงมา 1 ปัด 2 บิด
     9.  ชื่อผู้ลงนามในจดหมาย  ปัดจาก "ชื่อกิจการ"   หรือปัดจาก  "คำลงท้าย"  2 ปัด  2 บิด  พิมพ์ชื่อสกุล ผู้ลงนามในวงเล็บ  มีคำนำหน้าว่า "นาย, นาง, นางสาว"  และให้ทำการวางศูนย์กับคำลงท้าย (ระยะชื่อ-สกุล เว้น 2 วรรคเสมอ)
   10.  ตำแหน่งผู้ลงนาม  ปัดจาก  "ชื่อผู้ลงนามในจดหมาย"  1 ปัด  โดยพิมพ์วางศูนย์กับคำลงท้าย และชื่อผู้ลงนามในจดหมาย
   11.  ชื่อย่ออ้างอิง  ปัดจาก "ตำแหน่งผู้ลงนาม"  1  ปัด  2  บิด  พิมพ์ชิดกั้นระยะซ้าย โดยชื่อย่อ ให้ใช้อักษรตัวแรกของชื่อและอักษรตัวแรกของนามสกุล  เช่น กจ/อย  (กจ  หมายความว่า ชื่อย่อผู้ลงนาม อย  หมายความว่าชื่อย่อผู้พิมพ์)
   12.  สิ่งที่ส่งมาด้วย  (ถ้ามี)  พิมพ์ถัดจากชื่อย่ออ้างอิง 1 ปัด 2  บิด ชิดกั้นระยะซ้าย หลัง "สิ่งที่ส่งมาด้วย"  เว้น  2  วรรค ถ้าสิ่งที่ส่งไปมีหลายรายการให้พิมพ์เป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
                    
ส่วนพิเศษอื่นที่จดหมายบางฉบับมีบางฉบับไม่มี
     1.  เลขที่ออกหนังสือ  ปัด 1- 2 จากหัวจดหมาย
     2.  ชื่อบริษัท  ปัด 1  บิด  2  จากคำลงท้าย
     3.  สิ่งที่ส่งมาด้วย  ปัด 1  หรือ ปัด  1 บิด  2 จากชื่อย่ออ้างอิง